Back to Uncategorized

เครื่องสกรีนเสื้อ Pneumatic 40×60 cm. 2 ถาด ปั๊มลม

฿49,900

Warranty:
1 year for machinery warranty 
Usage:
printer sublimation
Voltage:
220V/210V
Dimensions(L*W*H):
310*355*340mm
Weight:
4.7kg
Category:

Description

เครื่อง Pneumatic 40×60 cm. 2 ถาด ปั๊มลม / เครื่องสกรีนเสื้อ

ครื่องสกรีนเสื้อ Pneumatic 40×60 cm. 2 ถาด ปั๊มลม หรือ การสกรีนเสื้อเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้นในต่างประเทศ มีทั้งธุรกิจการขาย เครื่องสกรีนเสื้อ

จวบจนกระทั่ง เครื่องสกรีนเสื้อสกรีนพิมพ์ลายสำเร็จรูป เมื่อเป็นที่นิยมจำนวนมาก ทำให้ในประเทศเริ่มมีการนำเครื่องสกรีนเสื้อ เข้ามาจัดจำหน่ายอย่างแพร่หลาย

จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากหันเข้ามาเพื่อลงทุน และ เริ่มต้นธุรกิจทางด้านการสกรีนเสื้อมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ช่องทางในการจัดหาซื้อ เครื่องสกรีนเสื้อ Pneumatic 40×60 cm

เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น วิธีในการสกรีนเสื้อ มี 3 วิธี แต่ละวิธี จะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เครื่องสกรีนเสื้อ การเลือกเนื้อผ้า ต้นทุนในการทำ

และ ลักษณะงานที่จะออกมามีให้เลือกหลายวิธีตามความชอบ ความเหมาะสม วิธีการสกรีนจะแบ่งได้ ดังนี้

1.การสกรีนลงบนผ้าโดยใช้บล็อกสกรีน (Silk Screen)

เป็นงานสกรีนแบบใช้บล็อกในการสกรีน สามารถสกรีนได้ทุกเนื้อผ้า สกรีนได้ทั้งผ้าสีเข้ม และ ผ้าสีอ่อน เหมาะกับการสกรีนเสื้อจำนวนมาก ๆ เพราะต้นทุนในการทำบล็อก

สกรีนค่อนข้างสูง ยกตัวอย่าง ถ้ารูปที่จะนำมาสกรีนมี  3 สี ต้องสร้างบล็อกสกรีนขึ้นมา 3 บล็อก ถ้าจะเปลี่ยนรูปก็ต้องสร้างบล็อกสกรีนขึ้นมาใหม่ ไม่สามารถใช้บล็อกสกรีนชิ้นเดิมได้

2.การสกรีนลงบนผ้าโดยตรง (Direct to Garment)  เป็นงานสกรีนแบบพิมพ์ภาพลงไปบนผ้าโดยตรง จะใช้เครื่องปริ้นเตอร์ที่เฉพาะพิมพ์ผ้า งานสกรีนประเภทนี้

จำกัดประเภทของผ้าในการสกรีน เครื่องสกรีนเสื้อสามารถสกรีนได้เฉพาะผ้า Cotton 100 % สามารถสกรีนลงได้ทั้งบนผ้าสีอ่อน และ ผ้าสีเข้ม เป็นงานสกรีนที่สวย และ คมชัด

ใช้ต้นทุนสูง ขนาดในการสกรีนจะค่อนข้างจำกัด สามารถสกรีนได้ในขนาดที่ ไม่เกิน 50 ซม. * 50 ซม. การสกรีนลงบนผ้า โดยใช้ระบบรีดร้อน (Heat Transfer)

3.การสกรีนลงบนผ้าโดยใช้ระบบรีดร้อน (Heat Transfer) ในงานสกรีนวิธีนี้จะมีรูปแบบงานหลายประเภท มีทั้ง ซับลิเมชั่น (Sublimation) ,ทรานเฟอร์ (Transfer) , เฟล็ก (Flex)

และฟล็อก (Flox) เป็นงานสกรีนโดยใช้เครื่องรีดทำความร้อน (Heat Press) งานชนิดนี้จะแบ่งหมวดหมู่ ย่อยลงไปอีก แล้ววันนี้จะมาอธิบายรายละเอียด

ของ การใช้เครื่องสกรีนลงบนผ้าโดยใช้ ระบบรีดร้อน ( Heat Transfer )  อย่างที่บอกว่า

งานสกรีนประเภทนี้มีรูปแบบงานหลายประเภท ดังนี้

3.1.  งานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) คือ งานสกรีนที่ย้อมสีลงไปบนเนื้องาน

แต่ต้องเป็นเนื้องานที่เฉพาะสำหรับงานสกรีน ในงานซับลิเมชั่น (Sublimation) จะสกรีนได้ทั้ง แก้ว , จาน , เคสโทรศัพท์ , แผ่นอะลูมิเนียม , แผ่นรองเมาส์

และ สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นผ้า ฯลฯ  ถ้าเป็นของจำพวกแก้ว , จาน , เคสโทรศัพท์ และ แผ่นอะลูมิเนียม จะต้องมีสารโพลิเมอร์เคลือบอยู่เท่านั้น ถึงจะสกรีนลงไปบน

เนื้องานนั้นได้ แต่ถ้าเป็นเสื้อจะต้องเป็นเนื้อผ้าใยสังเคราะห์ และ จะต้องเป็นผ้าสีขาว หรือ สีอ่อนเท่านั้น เนื้อผ้าใยสังเคราะห์ มีหลายชนิด เช่น ผ้าทีเค ( TK )

ผ้าไนลอน ( Nylon ) ผ้าพอลิเอสเทอร์  ( Polyester ) ผ้าอะคริลิค ( Acrylic ) ผ้าสแปนเด็กซ์ ( Spandex ) หรือ ไลครา ( Lycra ) ผ้าซีฟอง ( Chiffon ) ผ้า

ซาติน ( satin fabric ) ผ้าทีซี ( TC ) เนื้อผ้าชนิดนี้มีคอตตอน  ( Cotton ) ผสมอยู่ อาจ ทำให้สีในกา รสกรีนไม่ชัดเจน หรือไม่เข้มเท่าเนื้อผ้าใยสังเคราะห์

100% ผ้าแคนวาส (Canvas) เป็นต้น

3.2.  งานสกรีนประเภททรานเฟอร์ ( Transfer ) คืองานที่สกรีนได้เฉพาะบนเนื้อผ้า ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ ถุงเท้า หมวก ผ้ากันเปื้อน ฯลฯ เป็นลักษณะงานที่นูนขึ้นมา

จากเนื้อผ้าเล็กน้อย เนื้องานทรานเฟอร์ ( Transfer ) จะมีลักษณะคล้าย ๆ ยาง สามารถยืดได้ รูปงานจะไม่แตก งานลักษณะนี้ จะให้สีที่สดกว่า ชัดเจนกว่า

และ จะมีต้นทุนในการทำที่สูงกว่างานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น ( Sublimation )

3.3.งานสกรีนประเภทเฟล็ก ( Flex ) และ ฟล็อก ( Flox )

สามารถสกรีนได้ทุกสี ทุกเนื้อผ้า จะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากเนื้อผ้าเล็กน้อย คล้ายงานสกรีนประเภททรานเฟอร์ (Transfer) มีเนื้องานให้เลือกหลายชนิด

เช่น เฟล็กพียู ( Flex PU ) , ( Flex Metallic ) หรือ เรียกอีกชื่อว่า ฟอยล์  ( Foil ) , เฟล็กโฮโลแกรม ( Flex Hologram ) และ ฟล็อก หรือเรียกอีกชื่อว่า กำมะหยี่ ( Flox )

เนื้องานแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบดีไซน์ ( Design ) แฟชั่น ( fashion ) ในขณะนั้น ๆ และ ขึ้นอยู่กับสไตล์เนื้อผ้า

งานสกรีนประเภทนี้ เหมาะกับ ลายที่เป็นข้อความ ตัวอักษร เพื่อเน้นย้ำให้ผลงานเด่นชัดมากยิ่งขึ้น